Saturday, 23 November 2024

ค่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ที่ลูกจ้างต้องรู้

วันนี้มีเรื่องหนึ่งมาเล่าให้ฟังครับ เป็นเรื่องที่นายจ้างไปหว่านล้อมให้ลูกจ้างทำหนังหนังสือเลิกจ้างในวันที่ 10 ขณะที่ยังเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันอยู่ แต่ให้เป็นผลเลิกจ้างวันที่ 11 เดือนเดียวกัน และในหนังสือเลิกจ้างนั้น มีข้อตกลงว่า นายจ้างจะจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าชดเชย เป็นเงิน 200,000 บาท โดยที่ลูกจ้างจะไม่ติดใจฟ้องร้องเรียกตามสิทธิประโยชน์ใดๆทั้งทางแพ่งและทางอาญาอีกต่อไป

.

ตอนแรกก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ต่อมา มีคนแนะนำลูกจ้างว่า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนะ มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นเงินอีกก้อนหนึ่ง

ลูกจ้างก็เลยเอาเรื่องนี้ ไปฟ้องศาลแรงงาน ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไปเป็นธรรมอีกก้อน

*********************************************************

ประเด็นปัญหาคือ ลูกจ้างคนนี้มีสิทธิจะได้รับเงินก้อนนี้หรือไม่ เพียงใด?

**********************************************************

การจะเข้าใจเรื่องนี้ ก็ต้องรู้ก่อนครับว่า

.

1.ลูกจ้างไปตกลงตอนเป็นลุกจ้างหรือไม่

เรื่องนี้ เห็นชัดเจนครับว่า วันที่ลูกจ้างไปทำข้อตกลงนั้น วันที่10 แต่ให้มีผลเลิกจ้างวันที่ 11 เลยทำให้ลูกจ้างยังเป็นลูกจ้างอยู่ ซึ่งอาจเข้าหลักทั่วไปที่ทำให้ข้อตกลงเป็นโมฆะ ได้ครับ แต่ ผู้เขียนขอให้อ่านต่อก่อนครับ เพราะคดีนี้ มีพลิก

.

2.ข้อตกลงบังคับได้หรือไม่

ข้อต่อมาที่ต้องดู ก็คือ ข้อตกลง ที่สละสิทธิเรียกร้องนั้น บังคับได้หรือไม่

หลายๆคนคงจำเรื่อง การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยได้ไหมครับ

ถ้าจำไม่ได้ หรือไม่ได้อ่าน กดอ่านที่ลิ้งค์นี้ได้ครับ

https://www.facebook.com/…/a.116246771…/133713536106484/

.

ลูกจ้างจะสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยไม่ได้ในระหว่างเป็นลูกจ้าง หรือเพื่อให้ได้เป็นลูกจ้าง ถ้าทำ ข้อตกลงเป็นโมฆะ

.

แต่เรื่อง “ค่าเสียหายเพื่อการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม” นี้

ศาลฎีกาได้วางหลักว่า ” ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างตกลงสละสิทธิได้ตลอดเวลา ไม่ว่าลูกจ้างจะยังมีสถานะเป็นลูกจ้างนายจ้าง ยังอยู่ภายใต้บังคับบัญชานายจ้าง และไม่มีอิสระในการตัดสินใจก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจาก ลูกจ้างตกลงสละสิทธิเรียกร้องอื่นๆ ย่อมหมายความถึงได้สละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย ซึ่งไม่ใช่เงินตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากนายจ้าง”

.

ท่านผู้อ่านเห็นหรือไม่ครับ ในการดูว่า ข้อตกลงที่ลูกจ้างตกลง ศาลจะวางหลักพิจารณา สองข้อ

1 เป็นเงินจากกฎหมายอะไร ถ้าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็จะตกลงยกเว้นไม่ได้เลย

2 ถ้าเป็นเงินที่ตกลงยกเว้นไม่ได้ ก็ต้องดูต่อว่า ตกลงกันตอนไหน ถ้าตกลงตอนเป็นลูกจ้างอยู่ ก็เป็นโมฆะ แต่ถ้าตกลงหลังจากไม่ได้เป็นลูกจ้างแล้ว ก็บังคับลูกจ้างได้ครับ

.

ผู้ขอแนะนำนำลูกจ้าง นายจ้างครับว่า ว่าอย่าไปทำข้อตกลงอะไรถ้ายังไม่มั่นใจ แต่ถ้ามั่นใจก็ไม่ว่ากันนะครับ ก่อนจะทำข้อตกลงอะไร ก็ลองปรึกษาทนายความ หรือผู้รู้กฎหมายแรงงานใกล้ตัวท่าน แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ก็มาปรึกษา พรรคแรงงานสร้างชาติได้ตามลิ้งค์ด้านล่างได้เลยครับ

.

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้บ้างนะครับ และฝากแชร์ให้คนที่ยังทำงานอยู่ เพื่อวันหนึ่งจะได้ช่วยเหลือผู้ทำข้อตกลงแบบเอาเปรียบลูกจ้างกันนะครับ

.

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเเช้าหนาว สายร้อน ค่ำเย็น วันละสามฤดู รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

.

หากท่านไม่อยากจำและอยากมีที่ปรึกษาปัญหาแรงงาน

ทางพรรคแรงงานสร้างชาติมีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือดังนี้

ศูนย์ช่วยเหลือกฎหมายเพื่อประชาชน”พรรคแรงงานสร้างชาติ”

https://www.facebook.com/groups/nationlabour

.

ศูนย์ประสานงานรับร้องเรียน/ร้องทุกข์ด้านแรงงาน

https://www.facebook.com/groups/582536455701386