Saturday, 23 November 2024

เลิกจ้างหลายปี ลูกจ้างฟ้องได้ไหม?

เลิกจ้างหลายปี ลูกจ้างฟ้องได้ไหม?

************************************

มีผู้อ่านท่านหนึ่ง ได้อ่านบทความของพรรคแรงงานสร้างชาติ เกี่ยวกับการเลิกจ้างไม่เป็น ธรรม แล้วถามมาว่า “ถูกเลิกจ้างมานานแล้วจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง”

.

ถ้าใครยังไม่ได้อ่านเกี่ยวกับค่าชดเชย อ่านได้ลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/…/a.116246771…/133356189475552/

.

ถ้ายังไม่ได้อ่านเกี่ยวกับการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม อ่านได้ที่ลิ้งค์นี้

https://www.facebook.com/…/a.116246771…/134740752670429/

.

กลับเข้าเรื่องกันครับ ถ้าหากลูกจ้าง ถูกเลิกจ้าง จะมีสิทธิ์ฟ้องร้องตามสิทธิถึงเมื่อใด ก็ต้องดูว่าเป็นเรื่องอะไร เพราะแต่ละเรื่อง มีระยะเวลาที่ให้โอกาสฟ้องร้องได้ ไม่เท่ากันครับ และปัญหาก็คือ เรื่องอายุความ ในกฎหมายแรงงานมีระบุน้อยมากๆ ต้องอาศัยกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการรวบรวมจากวิธีปฏิบัติของศาลฎีกา ครับ

*************************

อายุความ 1 ปี หรือ 10 ปี กรณีละเมิด

เป็นกรณีที่เกิดการกระทำงผิดข้อบังคับการทำงานที่ผิดกฎหมายอันเข้าข่ายเป็นการละเมิด มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่ต้องชดใช้ค่าทดแทนเพื่อการละเมิด หรือ ภายใน 10 ปีนับตั้งแต่วันทำละเมิด

*************************

อายุความ 2 ปี

ค่าเสียหายที่มีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (😎 (9) เช่น

ค่าจ้างตามสัญญา ค่าจ้างค้างจ่าย

ค่าล่วงเวลา (มาตรา 5, 61, 65, 72, 74)

ค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำปี (มาตรา 56,67,71,72)

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (มาตรา 5, 63, 64, 65,72, 74)

ค่าตอบแทนจากการขาย (ร้อยละจากยอดขายซึ่งถือเป็นค่าจ้าง : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2540),

เงินที่จ่ายแทนค้าจ้าง ระหว่างหยุดกิจการ (มาตรา 75)

ระหว่างหยุดใช้เครื่องจักร (มาตรา 105)

ระหว่างพักงานตาม (มาตรา 116, 117)

ค่าบำเหน็จจากการขายเวชภัณฑ์ (คำพิพากษาฎีกาที่ 562/2501)

ค่าตอบแทนพิเศษจากกำไรสุทธิทางบัญชีตามสัญญา (คำพิพากษาศาลฎีกาที่

2262/2530)

เงินเดือนที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจหักไว้โดยไม่ชอบ

ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก

***********************************************

อายุความ 5 ปี

ค่าเสียหายที่มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1)(4) เช่น

ดอกเบี้ยค้างชำระ,

เงินค้างจ่าย เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญของข้าราชการ

***********************************************

อายุความ 10 ปี

ค่าเสียหายที่มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เช่น

ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

ค่าชดเชย (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2524, 1568/2523)

ค่าชดเชยพิเศษ

ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

เงินโบนัส (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2244/2548)

สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

ค่าเสียหายเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน (ฟ้องลูกจ้างและผู้คำประกัน : คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13103/2557, 2081/2557, 10972/2555,3401/2552, 8692/2551, 5831/2540, 2118/2537, 1969/2534)

เงินรางวัลประจำปีที่จะจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานสม่ำเสมอไม่ขาด ไม่ลา(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2529)

เงินบำเหน็จ (ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261 – 2264/2523)

ค่าเสียหายที่นายจ้างชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกและใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างและผู้ค้ำประกัน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่735/2537, 142/2535)

เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง

เงินชดใช้ที่กองทุนสงเคราะห์จ่ายไป

ค่าเสียหายตามกฎหมายเงินทดแทน เช่น เงินทดแทน (ค าพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2525)

ค่ารักษาพยาบาล

ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

ค่าทำศพ

ค่าทดแทน เงินสมทบกองทุนเงินทดแทน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2532),

ค่าเสียหายตามกฎหมายประกันสังคม(เช่น ประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตราย ฯ เงินสมทบ),

ค่าเสียหายตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์(เช่น ค่าเสียหาย /

ให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานในเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376 – 377/2534)

เงินประกัน,

ค่าเสียหายตามกฎหมายจัดตั้งศาลแรงงาน เช่น ค่าเสียหาย / ให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานในเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524)

********************************

ถ้าไม่ได้ฟ้องเรียกร้องต่อศาลภายในระยะอายุความตามกฎหมาย ท่านจะเสียสิทธินั้นเลยนะครับ ซึ่งอายุความก็จะมี 1 ปี 2 ปี 5 ปี 10 ปี ตามเรื่องที่กฎหมายกำหนดครับ

**********************************

เรื่องอายุความฟ้องร้องนี่ ผู้เขียนแนะนำว่า ให้คนทำงานแชร์เก็บไว้เช็คได้เลยครับ เพราะถ้าพลาด จะมีผลคือ สิ้นสิทธิการฟ้องเรียกร้องเลย และ แก้ไขอะไรไม่ได้นะครับ

.

พรรคแรงงานสร้างชาติ มีความตั้งใจเป็นอย่างสูง ในการช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างทำงานด้วยกันได้อย่างพึ่งพากัน มีประโยชน์ร่วมกัน นายจ้างได้ผลประกอบการที่ดี ได้ลูกจ้างที่ทำงานตามหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และ ลูกจ้างได้รับประโยชน์จากนายจ้างอย่างน้อยควรได้ตามสิทธิที่พึงมีตามกฎหมายครับ หากนายจ้างท่านใดเห็นความสำคัญของลูกจ้างจะมีสวัสดิการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้ดียิ่งขึ้น ก็จะเป็นขวัญกำลังใจให้ลูกจ้างได้ทำงานอย่างเต็มความสามารถ ผลประกอบการดีๆ ก็จะกลับสู่นายจ้างอีกด้วย

******************************

หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้บ้างนะครับ และฝากแชร์ให้คนที่ยังทำงานอยู่ เพื่อวันหนึ่งจะได้ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการทำงานกันครับ

******************************

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยรักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ

****************************

หากท่านไม่อยากจำและอยากมีที่ปรึกษาปัญหาแรงงาน

ทางพรรคแรงงานสร้างชาติมีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือดังนี้

.

ศูนย์ช่วยเหลือกฎหมายเพื่อประชาชน”พรรคแรงงานสร้างชาติ”

https://www.facebook.com/groups/nationlabour

.

ศูนย์ประสานงานรับร้องเรียน/ร้องทุกข์ด้านแรงงาน

https://www.facebook.com/groups/582536455701386